เช็คลิสต์เลือกโรงงานสร้างแบรนด์เครื่องสำอางไม่ให้ผิดหวัง

เช็คลิสต์เลือกโรงงานสร้างแบรนด์เครื่องสำอางไม่ให้ผิดหวัง

ยุคนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง แต่สำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจนั้นการผลิตสินค้าด้วยตัวเองอาจจะเป็นเรื่องยากไปสักนิด  การเลือกใช้บริการ OEM (Original Equipment Manufacture – ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง)  มาช่วยผลิตแบรนด์และทำเอกสารสามารถช่วยลดเวลาไปได้มากเลยทีเดียว  แต่จะเลือกโรงงาน OEM ที่ผลิตได้ตรงความต้องการ พาไปถึงเป้าหมาย ไม่ทำให้ผิดหวัง เสียเงิน เสียเวลาไปฟรีๆ ได้อย่างไร  ลองใช้เช็คลิสต์ต่อไปนี้เป็นแนวทาง

9 เช็คลิสต์เลือกโรงงานทำแบรนด์แบบไม่มีพลาด

  1. โรงงานต้องได้มาตรฐานมีการรับรอง GMP หรือ ISO ซึ่งมาตรฐานสากลสำหรับเครื่องสำอางคือ ISO 22716 จึงจะมีความน่าเชื่อถือ สะอาด ปลอดภัย และควรมีการรับรองผู้ผลิตจากสำนักกรรมการอาหารและยา (อย.)
  2. ตรวจสอบที่ตั้งของสถานประกอบการ มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน ขอเข้าไปเยี่ยมชมสำนักงานขายหรือโรงงานได้  ที่สำคัญต้องมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งควรระวังการโอนเงินเข้าบัญชีบุคคลธรรมดาหรือพนักงานขายโดยตรง เพราะอาจจะพบมิจฉาชีพได้
  3. มีเครื่องจักรที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน มีกำลังการผลิตเพียงพอต่อยอดขายที่มีโอกาสที่จะเติบโตได้ มีแผนกพัฒนาสูตร (R&D) เพื่อให้ได้สูตรเฉพาะมีความแตกต่าง โดดเด่น และตรงกับความต้องการมากที่สุด
  4. ควรเลือกโรงงานที่ให้บริการแบบครบวงจร One-stop service ให้บริการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการเพื่อเป็นการลดภาระของเจ้าของแบรนด์  เจ้าของแบรนด์จะได้มีเวลาใส่ใจในการทำการตลาดได้เต็มที่
  5. เลือกโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการผลิต   แต่หากโรงงานนั้นสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายก็จะดีในกรณีที่คุณอยากขยายกลุ่มสินค้าในอนาคต  มีผลงานที่เป็นแบรนด์ขายดีในตลาดชัดเจน  นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังต้องปลอดภัย ไม่ใส่สารต้องห้ามหรือสารห้ามใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  6. โรงงานควรทำงานเหมือนเป็นพาร์ทเนอร์  เป็นที่ปรึกษาที่ดี มีความเอาใจใส่ ซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงของเจ้าของแบรนด์นอกจากนี้โรงงานควรมีความรอบรู้สามารถแนะนำได้ตั้งแต่เริ่มต้น   ตั้งแต่ค้นหาความต้องการที่แท้จริง, คุย concept การสร้างแบรนด์ เหตุผล เป้าหมาย,  วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์, วิเคราะห์ต้นทุน, วิเคราะห์สูตร, จดทะเบียนอย. , ค้นหาหรือออกแบบแพคเกจจิ้งที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรแนะนำการตลาดเบื้องต้นได้ด้วย
  7. มีกำหนดการตารางเวลาผลิต จัดส่งที่ชัดเจน  ต้องมีการทำสัญญาระหว่างโรงงานและเจ้าของแบรนด์เรื่องห้ามนำความลับของแบรนด์ไปเปิดเผย
  8. เลือกโรงงานที่ไม่ขายฝันเกินจริง  ปัจจุบันมีหลายโรงงานที่มีโปรโมชั่นหรือข้อเสนอที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ  เช่น งบหลักหมื่นกำไรหลักล้าน  จึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน ถามหาตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจริงๆว่าเป็นแบรนด์อะไร และไปศึกษาต้องให้ละเอียดด้วยตัวเองอีกที โดยพิจารณาจากพื้นฐานความเป็นจริงว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
  9. ให้คำปรึกษาต่อเนื่องไม่ทิ้งลูกค้า ติดตามการขาย ให้คำแนะนำ ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

สามารถอ่านบทความ เช็คลิสต์เลือกโรงงานสร้างแบรนด์เครื่องสำอางไม่ให้ผิดหวัง และอื่นได้ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิง

https://topbestbrand.com/

https://www.youtube.com/channel/UCBrAtf2tbzKD5s71kuuniTw/featured

author-avatar
  
สินีนาฏ เพิ่มสวัสดิ์

มาร์เก็ตติ้งในธุรกิจความงามของบริษัทต่างประเทศชั้นนำกว่า 10 ปี เชี่ยวชาญการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและเส้นผมโดยเฉพาะ