Contents
5 เรื่องที่ต้องระวังพลาด เมื่อลงทุนทำธุรกิจเครื่องสำอาง
วันนี้พอมีเวลาเขียนยาว จะเล่าให้ละเอียดจากประสบการณ์ที่เคยอยู่ในธุรกิจเครื่องสำอางมาตั้งแต่เริ่มต้น จนตอนนี้ธุรกิจที่ผมทำเริ่มขยับขยายไปทำตลาดในหลายประเทศแล้ว จากที่เครื่องสำอางเป็นธุรกิจฮิตติดดาวมาหลายปี เดี่ยวนี้ใครอยู่ในธุรกิจอะไร ก็กระโดดมาทำครีม ทำเซรั่มขายกันถ้วนหน้า วันนี้ขนาดอาจารย์ที่เป็นโปรแกรมเมอร์ตัวท็อปยังมานั่งคุยอยากทำครีมไปขายต่างจังหวัด ไม่นับเด็กๆ นักเรียน นักศึกษา หรือพนักงานออฟฟิศที่เรียงคิวติดต่อกันเข้ามา อยากจะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ในความสำเร็จ ที่เห็นๆออกรายการอายุน้อยหลายร้อยล้าน ขายดีขึ้นรับโล่ห์บนเวทีกันให้พรึบ ก็ยังมีความผิดพลาด มีความแอบพังกันไปหลายรายแต่แค่ไม่มีใคร เคยเอามาเหลาให้ฟังไงละ เพราะถ้าทำธุรกิจแล้วเจ๊ง คงไม่ค่อยมีใครอยากจะอวดสักเท่าไหร่ อ่านไม่ผิดครับ ขึ้นชื่อว่าการทำธุรกิจก็มีการลงทุน มีความเสี่ยงที่อาจจะขึ้นได้เสมอแต่เรื่องพลาดๆ ที่วันนี้จะเอามาแฉจากวงในรู้ไว้จะได้ไม่โดนฟันหัวแบะ มีทั้งหมด 5 เรื่องตามนี้ครับ1. พลาดโดนเอเจนซี่หลอก หลอกยังไง!?
เอเจนซี่ก็คือตัวกลาง มีฐานลูกค้าจากการรับจ้างงานบริการต่างๆที่อยู่ในวงการเครื่องสำอาง บางครั้งทำหน้าที่ในการหาลูกค้าส่งเข้าโรงงานแล้วกินค่าคอมมิชชั่น กรณีแบบนี้ไม่น่ากลัว ถ้าสมมติว่าจริงใจและบอกลูกค้ากันตรงๆ แต่ก็มีบริษัทหลายที่ ย้ำว่าหลายที่ในประเทศที่ไม่ใช่โรงงาน แต่แอบอ้างว่าเป็นโรงงานแอบใช้รูปโรงงานอื่น หรือภาพจากอินเตอร์เน็ต แล้วรับจ้างผลิต โดยทำการรับซื้อมาจากอีกโรงงาน แล้วบวกราคาอีกคูณสามสี่ห้า หรือมากกว่านั้น ถ้าลูกค้าดูเว็บดูเพจแล้วหลงเชื่อ ก็อาจจะโดนฟันจากตรงนี้แหละครับ กรณีแบบนี้มันมีปัญหาอย่างไร? หนึ่งคือราคาสรรพคุณสินค้า อาจไม่เป็นธรรมกับผู้ซื้อแถมงานซื้อมาขายไปในลักษณะนี้ เค้าพยายามดันของที่มีอยู่ในสต็อคออก หรือมักจะผลักของใกล้หมดอายุไปให้ลูกค้า ถ้าไม่อยากทำงานกับโรงงานที่ไม่ใช่โรงงานจริงๆ ตรวจสอบได้จากการขอดูเอกสารต่อไปนี้เอกสารเบื้องต้นที่ต้องขอดูเพื่อยืนยันว่าเป็นโรงงานจริง
- Certificate of Manufacturer หรือพวกการรับรองมาตรฐานต่างๆ
- ISO9001 ISO22716 หรือ Halal Certificate ก็ได้
2. โดนพนักงานขายหลอกฟัน
โดยรูปแบบของงานขายแล้วส่วนใหญ่จะใช้วิธีการกดฐานเงินเดือนเซลล์ให้ต่ำ เพื่อกำหนดเป้า ให้พนักงานขายวิ่งตามยอด วิธีการที่จะทำให้เซลล์หรือพนักงานขายอยู่รอดโดยไม่ต้องรอค่าคอมมิชชั่น คือการเอาสินค้าบริษัทมาขายในราคาพรีเมี่ยมพร้อมบรรยายสรรพคุณแบบที่ทาแล้วแก้ปัญหาได้ลึกถึงพันธุกรรม มีกรณีที่พี่ที่รู้จักคนนึงครับ ถูกพนักงานหลอกขายครีมทาหน้าในราคากิโลกรัมละ 50,000 บาท ในขณะที่ราคาสินค้าที่บริษัทแสดงไว้ในหน้าเว็บอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 5,000 บาท อัพกันไป 10 เท่า ผมยังถามกลับไปอยู่เลยว่าพี่ถูกสะกดจิตหรอถึงได้ซื้อครีมกิโลละห้าหมื่นบาทได้วิธีป้องกันไม้ให้โดนแหกตาและตีหัวแบะเมื่อซื้อครีม
- ให้ขอเอกสารที่เป็นใบเสนอราคาที่ออกและถูกเซ็นต์กำกับ จากผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทครับ เช่น ระดับหัวหน้างาน
- เข้าไปคุยกันที่สำนักงานขายหรือออฟฟิศ
- โอนเงินเข้าบัญชีบริษัทเท่านั้น!! ไม่ใช่บัญชีพนักงานขาย
3. โดนหุ้นส่วนหลอก แนวว่าชวนลงทุน
ชวนมาหุ้นทำด้วยกัน การทำธุรกิจแบบที่มีหุ้นส่วนจำนวนมาก หากบริหารจัดการไม่ดี ก็จะมีปัญหา ขายๆ กันไปสักพัก ก็อาจจะมีเริ่มแตกหักกันไปบ้าง ส่วนใหญ่ก็เพราะแนวทางในการทำงานที่ไม่ตรงกัน (ตอบแบบดารา) แต่ถ้าเป็นแนวน่ากลัวก็คือการลงทุนที่ถูกหลอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ตัวอย่างเช่น ใช้วิธีเข้ามาติดต่อกับโรงงานขอราคาที่กิโลกรัมละ 3,000 บาท แต่แจ้งราคาในกลุ่มหุ้นส่วนว่า 6,000 บาท แล้วกินส่วนต่าง หากสั่งครีมกันที่ 100 กก. เท่ากับว่าจะมีส่วนต่างเกิดขึ้น 300,000 บาทนั่นเอง กลลวงก็คือการขอเอกสารวางบิลจากบริษัทผู้ผลิต 2 ชุด- ชุดที่ 1 คือใบวางบิลตามราคาจริงที่ตกลงกับโรงงาน เก็บไว้เอง
- ชุดที่ 2 คือใบวางบิลตามราคาตกลงเพื่อหลอกหุ้นส่วน
4. โดนความคิดตัวเองหลอก
โดยความอคติหรือลำเอียง (Bias) น่ากลัวกว่าใครในโลก ก็ตัวเราเองนี่แหละ การทำธุรกิจแบบที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงก็ไม่ได้แปลว่าเป็นข้อดีเสมอไป เพราะเก่งแค่ไหน ใครก็พลาดได้ เครื่องสำอางเป็นสินค้าที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้อ แต่การทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องใช้เหตุผลหรือกระบวนการคิดเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ให้ประสบความสำเร็จ ฉะนั้นธุรกิจเครื่องสำอาง คือสิ่งที่ต้องใช้ทั้งอารมณ์และเหตุผลในการบริหาร หลายครั้งที่เราคิดเอง เออเอง ว่าตลาดกลุ่มเป้าหมายแบบนี้น่าจะดี สินค้าตัวนี้น่าจะขายได้ เราใช้แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรนะฃแต่พอทำสินค้าออกไปขายจริงก็แป้กขายไม่ได้ ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเราลืมคิดว่า ตัวเรา ผิวของเราเพียงคนเดียว ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้เป็นตัวแทนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งหมดวิธีช่วยเพิ่มความมั่นใจให้สินค้า ก่อนออกสู่ตลาด
วิธีที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้สินค้า ก่อนที่จะออกสินค้าสู่ตลาดสามารถเริ่มจากการทำงานวิจัยตลาด แต่ถ้างบไม่เยอะ ก็ป้องกันความผิดพลาดต่างๆได้ดังนี้- ทำแบบสอบถามกับกลุ่มตลาดเป้าหมายเพื่อให้ทราบพฤติกรรมผู้บริโภค
- ถ้าอยากมั่นใจว่าสินค้าไม่มีปัญหา สามารถทดสอบทางคลินิค (Clinical Test) โดยใช้หน่วยงานภายนอกที่ไม่ใข่โรงงานเช่น การทดการระคายเคืองหรือผลลัพธ์ในด้านต่างๆ ซึ่งการทดสอบนี้จะมีแพทย์ผิวหนังเซ็นต์รับรอง