ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เรามักจะได้ยินข่าวไฟไหม้โรงงาน ทั้งโรงงานพลาสติกกิ่งแก้ว โรงงานตุ๊กตา โรงงานแก๊ส ซึ่งต่างก็เป็นข่าวใหญ่ที่ทุกคนกังวล และยังมีข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในโรงงานอีกมากมาย ทำให้ผู้คนที่ทำงานทุกระดับทั้งฝ่ายผู้บริหารและพนักงานเกิดความกังวลในความปลอดภัย และตื่นตัวให้ความสนใจในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น เพราะไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้มีอุบัติเกิดขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ผู้ที่ทำงานต้องการความปลอดภัยในการทำงาน
Zero accident คือการตั้งเป้าในการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานของโรงงาน จะต้องไม่มีการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานเลยภายใน 365 วัน สถิติการเกิดอุบัติเหตุต้องเป็น 0 ปกติ แม้จะเป็นการโดนมีดบาดเพียงเล็กน้อยก็ถือเป็นการเกิดอุบัติตเหตุ 1 ครั้ง ซึ่งก็แล้วแต่บริษัทนั้นๆ ว่าจะกำหนดนิยามการเกิดอุบัติเหตุว่าอย่างไร
ประสบการณ์ที่เกือบพบเจออุบัติเหตุในโรงงาน
ในช่วงที่พี่พรยังทำงานฝ่าย Production control พี่พรเคยอยู่ในประสบการณ์ที่เสี่ยงอันตรายของโรงงานแปรรูปอาหารที่หนึ่ง จากเครื่อง Dryer ที่ทำให้วัตถุดิบแห้งเป็นผงจากการให้ความร้อนก่อนนำบรรจุ และในส่วนของการบรรจุนี้เองจะต้องใช้ไนโตรเจนเพื่อถนอมอาหารในระหว่างบรรจุ ด้วยตำแหน่งของพี่พรจะมีหน้าที่คอยควบคุมมอนิเตอร์ตลอดเวลา และต้องลงมาตรวจเช็คสถานที่เป็นครั้งคราว ในครั้งนั้นได้พบเห็นความผิดปกติที่ไลน์การผลิตไม่มีการทำงานที่ต่อเนื่องและติดต่อพนักงานในไลน์ผลิตไม่ได้ จึงได้ลงไปตรวจเช็คข้างล่าง ได้พบเห็นพนักงานหมดสติ เนื่องจากแก๊สไนโตรเจนเกิดการรั่วไหลออกมา หลังจากนั้นจึงเกิดเป็นการระแวงในที่ทำงานที่พนักงานไม่มั่นใจในการเปิดวาล์วแก๊ส และต่างๆ ว่าจะทำเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอีก พี่พรจึงได้คิดที่จะทำเครื่องตรวจสอบออกซิเจนขึ้นมา ในการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ส่งผลเสียให้โรงงานไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุเกิดขึ้น คือหน้าที่ของนักบริหารคุณภาพ
ตระหนักถึงความปลอดภัย เตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ ในงานของการบริหารคุณภาพจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ คือ การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง (Preventive maintenance) รวมไปถึงโครงสร้างอาคาร (Infrastructure) ที่จะต้องมีการตรวจสอบ วางแผน และป้องกัน เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ เหมือนกับหลักการ Genba แนวคิดการทำงานที่จะต้องมีการลงพื้นที่หน้างานด้วยตนเองเพื่อรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น อีกทั้งการตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานก็เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องให้ความใส่ใจ ไม่ใช่รอให้ใครมาสั่งให้ระวังหรือจนกว่ะมีเหตุเกิดขึ้นถึงค่อยมาระวัง เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาคนที่บาดเจ็บคือคุณที่อยู่หน้างาน
QBP PODCAST
HOST
สุริยาภรณ์ ฉันทกุล
นักบริหารคุณภาพ
ผู้เชี่ยวชาญระบบมาตรฐาน ISO
วุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร
ผู้ร่วมก่อตั้ง TIBD
ที่ปรึกษาธุรกิจ