บริการสกัดสารในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม
บริการสกัดสารในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม
บริการสกัดสาร ในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม
บริการสกัดสาร ของ TIBD เราให้บริการเพื่อให้ได้สารสำคัญสำหรับนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ด้วยประเทศไทย ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีการลงทุนในงบประมาณวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาให้ผลิตผลทางการเกษตร และสมุนไพรถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง แต่ในขณะเดียวกัน ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีดังกล่าว ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์มากนัก เพราะขาดกระบวนการสำคัญ ในการนำนวัตกรรมเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการการค้าเชิงพาณิชย์ และในขณะเดียวกันเรายังคงพึ่งพาการนำเข้าสารออกฤทธิ์ ในเครื่องสำอาง และอาหารเสริม จากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล
บริการสกัดสาร ในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอุตสาหกรรมที่กล่าวมา และเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบทางการเกษตร และมีความต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือธุรกิจหรือโรงงานที่มีการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ผลไม้แปรรูป หรืออาหารที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตร และในกระบวนการทางธุรกิจดังกล่าวมีของเหลือเกิดขึ้นจากจากกระบวนการเหล่านั้น (By Products) และยังขาดการนำไปใช้ประโยชน์ หรือหากขายทิ้งก็ขายด้วยมูลค่าที่ต่ำมาก การส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการสกัดสารจะช่วยให้เราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และสร้างมูลค่าใหม่ (New Value Creation) ให้กับวัตถุดิบดังกล่าว อีกทั้งยังส่งเสริมให้ธุรกิจเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ มองเห็นช่องทางการหารายได้ช่องทางใหม่ และสามารถสร้างแนวทางแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่การเป็นอุตสาหกรรมมูลค่าสูงในประเทศไทย
วัตถุดิบแบบใดบ้างที่สามารถนำมาสกัดได้
1. วัตถุดิบทางการเกษตร เช่น พืชผัก ผลไม้ และสมุนไพร เป็นต้น
2. ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น กุหลาบ กระดังงา พิกุล ดอกปีบ เป็นต้น
3. ของเหลือจากกระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น เปลือกผลไม้ เมล็ดผลไม้ กากใย ที่เหลือจากการคั้นน้ำ หรือสกัดน้ำมันไปแล้ว
4.ของเหลือจากกระบวนการแปรรูปอาหารทะเล เช่น เกร็ด กระดูก ก้าง เครื่องใน ครีบ เป็นต้น
5.ของเหลือจากกระบวนการแปรรูปปศุสัตว์ เช่น กระดูก เครื่องใน ขน เป็นต้น
บริการสกัดสาร นี้เหมาะกับใคร
- เกษตรกรเจ้าของวัตถุดิบที่ต้องการเพิ่มมูลค่าผลิตพลเกษตร
- ธุรกิจแปรรูป ผลิตผลเกษตร ที่มีของเหลือ แล้วต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม
- ผู้พัฒนา สารสกัด สำหรับอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
- โรงงานเครื่องสำอาง โรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โรงงานสมุนไพร ที่ต้องการพัฒนาสารสกัดของตัวเอง
- เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ต้องการ มีสารสกัดเป็นของตัวเอง
รูปแบบการสกัด ที่มีการเปิดรับบริการสกัดสาร
1. การสกัดด้วยวิธีการหมัก (Maceration)
เป็นวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชโดยวิธีหมักสมุนไพรกับตัวทำละลายในภาชนะปิด เช่น ขวดปากกว้าง ขวดรูปชมพู่ หรือโถถังเสตนเลส เป็นต้น ทิ้งไว้ 7 วัน หมั่นเขย่าหรือคนบ่อยๆ เมื่อครบกำหนดเวลาจึงค่อยๆ รินเอาสารสกัดออก พยายามบีบเอาสารละลายออกจากกาก (marc) ให้มากที่สุด รวมสารสกัดที่ได้นำไปกรอง การสกัดถ้าจะสกัดให้หมดจด (exhausted) อาจจำเป็นต้องสกัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง วิธีนี้มีข้อดีที่สารไม่ถูกความร้อน แต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองตัวทำละลายมาก
2. การสกัดด้วยตัวทำละลายแบบดั้งเดิม (Conventional Solvent Extraction)
ข้อดี : ราคาถูก และหาได้ง่าย
ข้อเสีย : อุปกรณ์ที่ใช้มีราคาแพงกว่าวิธีอื่น และต้องใช้ตัวทำละลายที่ไวไฟหรือเป็นพิษ
3. การสกัดด้วยเครื่องสกัดซอกเลต (Soxhlet Extraction)
4. การสกัดด้วยเครื่องสกัดด้วยของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical Fluid Extraction)
ของไหลวิกฤติยิ่งยวด หมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าสสารเป็นแก๊สหรือของเหลวซึ่งสามารถอธิบายได้จากแผนภาพสถานะอุณหภูมิและความดัน (Pressure-temperature phase diagram) ของสารบริสุทธิ์ใดๆ
5. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation)
6. การสกัดโดยการกลั่นด้วยน้ำ (Hydrodistillation)
ข้อมูลที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการมาใช้ บริการสกัดสาร
สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจอยากจะนำวัตถุดิบมาใช้บริการในการสกัด ท่านสามารถเตรียมข้อมูลเพื่อเข้ารับบริการ ดังต่อไปนี้
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการสกัดสาร เช่น เพื่อค้นหาวิธีการสกัดที่เหมาะสม เพื่อวางแผนการคำนวณต้นทุน และจุดคุ้มทุน ของการสกัดเพื่อศึกษาและดำเนินการในการวิจัย เพื่อพัฒนาสารใหม่และนำไปใช้ในธุรกิจที่ดำเนินการอยู่
- จัดเตรียมข้อมูลของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการสกัด โดยมีการระบุชนิดของวัตถุดิบ แหล่งที่มา ต้นทุนของวัตถุดิบ ปริมาณของวัตถุดิบ ลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบ โดยเปิดเผยข้อมูลเท่าที่ท่านสามารถดำเนินการได้
- ระบุสิ่งที่ต้องการจากการสกัด หากท่านมีการทบทวนวรรณกรรมมาแล้ว หรือหากยังไม่ได้มีการ ศึกษาค้นคว้ามาก่อน ให้ระบุผลลัพธ์ของสิ่งที่ท่านต้องการจากการสกัด หากไม่มีข้อมูลมาก่อนเลย อาจขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ TIBD ได้เลย
- ระบุการนำไปใช้ประโยชน์ของสารสกัด เช่น การใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ประเภทครีม เซรั่ม หรือโลชั่น การใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภท แคปซูล แท็บเล็ต ผงชงดื่ม เม็ดฟู่ กัมมี่ หรือเจลลี่ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ จะได้ให้คำปรึกษา และกำหนดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์