บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย ในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย ในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรม
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย กุญแจสำคัญสู่การปลดล็อกศักยภาพสมุนไพรและวัตถุดิบธรรมชาติของไทย
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตพืชสมุนไพรและวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ ทำให้เรามีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย และด้วยเทรนด์ในปัจจุบันที่ผู้บริโภคต่างหันมาให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและออร์แกนิกมากขึ้น ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเล็งเห็นโอกาสที่จะพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ นั่นก็คือ การสกัดน้ำมันหอมระเหย จากเทคโนโลยีอันล้ำสมัย มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการบำรุงและการรักษา น้ำมันหอมระเหยสามารถสกัดได้จากพืช สมุนไพร ดอกไม้ และวัตถุดิบจากธรรมชาติ อื่น ๆ อีกมากมาย ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำตลาดน้ำมันหอมระเหยโดยการผลิตน้ำมันหอมระเหยคุณภาพสูงจากสมุนไพรและพืชท้องถิ่น สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในมือ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหนือคู่แข่ง ให้ TIBD ของเราได้เป็นผู้ให้บริการสกัดน้ำมันหอมระเหยกับคุณ
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบที่ถูกมองข้าม
ด้วยความที่ประเทศไทยเรามีทรัพยากรทางธรรมชาติที่มากมายนี้เอง ทำให้อุตสาหกรรมสุขภาพและความงามสามารถนำพืช สมุนไพร และวัตถุดิบธรรมชาติอื่นๆ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย แต่ในกระบวนการแปรรูปเหล่านั้น บางครั้งก็อาจจะเกิดของเหลือจากวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปวัตถุดิบ เช่น เปลือกผลไม้, เมล็ด, กากใย เป็นต้น และส่วนใหญ่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นส่วนที่เป็นของเหลือไม่ได้ใช้งานก็จะเกิดเป็นขยะที่ต้องกำจัด และการกำจัดก็เป็นต้นทุนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เมื่อมีการผลิตแปรรูปเยอะ ของเหลือก็จะยิ่งเยอะ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องหาแนวทางในการนำของเหลือจากการแปรรูปเหล่านั้นไปสร้างมูลค่าให้เกิดประโยชน์ ด้วยการ ใช้บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย กับ TIBD ที่นอกจากจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพและนำไปต่อยอดสร้างรายได้ได้อีกช่องทาง ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณยั่งยืน และสร้างผลกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหยของ TIBD ปลดล็อกคุณค่าจากวัตถุดิบทางการเกษตรให้กับธุรกิจในห่วงโซ่อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
เกษตรกร
เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต สร้างรายได้เสริม
ธุรกิจแปรรูป
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ผู้พัฒนาสารสกัด
เข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัย เร่งความเร็วในการวิจัย
โรงงาน
พัฒนาสารสกัดของตัวเอง ควบคุมคุณภาพ และต้นทุนในการผลิต
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย ด้วยนวัตกรรมสกัดสารที่เหนือกว่า
การเลือกวิธีสกัดน้ำมันหอมระเหย ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาสกัด และวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน ซึ่งการสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลายวิธีให้เลือก ดังนี้
1. การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction) แปลงการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม เช่น แอลกอฮอล์ เฮกเซน หรืออีเทอร์ เพื่อดึงสารต่างๆ ในพืชออกมา ซึ่งการเลือกตัวทำละลายที่จะมาใช้ก็จะแตกต่างกันไป เนื่องสารละลายแต่ละชนิดมีความสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตัวอย่างพืชได้ต่างกัน
วิธีการนี้เหมาะสำหรับ:
- พืชที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ปริมาณน้อย
- พืชที่มีเนื้อเยื่อแข็ง
ข้อดี
- น้ำมันหอมที่ได้จะมีกลิ่นหอมที่ใกล้เคียงกับกลิ่นหอมจากวัตถุดิบจริง ๆ
ตัวอย่างพืชที่เหมาะสำหรับการสกัดด้วยตัวทำละลาย เช่น ดอกมะลิ ดอกบัว หรือกุหลาบ
2. การสกัดโดยการบีบหรืออัด (mechanical expression) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสกัดน้ำมันหอมระเหย จากการบีบอัดตัวอย่างวัตถุดิบให้น้ำมันที่อยู่ในเปลือกของผลไม้ไหลออกมา แต่น้ำมันที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่ค่อยบริสุทธ์ เหมาะสำหรับวัตถุดิบที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง วิธีนี้เหมาะกับน้ำมันหอมระเหยบางชนิดซึ่งจะสลายตัวได้เมื่อถูกความร้อนจึงใช้การบีบน้ำมันแทนการกลั่น
วิธีการนี้เหมาะสำหรับ:
- พืชที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
- พืชที่มีเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม
ข้อดี
- ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพสูง
- คงกลิ่นหอมและสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยได้ดี
- ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างพืชที่เหมาะสำหรับการสกัดด้วยตัวทำละลาย เปลือกของผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม มะนาว เลมอน มะกรูด
3. การสกัดโดยใช้ไขมัน (อองเฟลอราจ-Enfleurage) เป็นวิธีการสกัดด้วยไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชโดยใช้กับกลีบดอกไม้บาง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคเก่าแก่ของชาวฝรั่งเศส โดยการใช้น้ำมันหรือไขมันที่ไม่มีกลิ่นเป็นตัวดูดซับน้ำมันที่ระเหยออกมาจากกลีบดอกไม้ โดยวิธีนี้ไขมันที่ใช้ต้องสะอาดปราศจากกลิ่นและมีความแข็งแรงพอเหมาะ ถ้าแห้งไปจะดูดกลิ่นไม่ดี แต่ถ้านิ่มเกินไปจะเอาดอกไม้ออกยาก
วิธีการนี้เหมาะสำหรับ:
- ดอกไม้ที่มีกลีบบอบบาง
- ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
ข้อดี
- ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมละมุน
- คงกลิ่นหอมและสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยได้ดี
- ไม่ใช้ความร้อน
ตัวอย่างพืชที่เหมาะสำหรับการสกัดด้วยตัวทำละลาย ดอกไม้ที่มีกลีบบอบบาง เช่น กุหลาบ ดอกส้ม มะลิ ซ่อนกลิ่น
4. การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam distillation) เป็นวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้มากที่สุด เป็นการกลั่นด้วยไอน้ำกับตัวอย่างพืชที่มีการสลายตัวของสารได้ง่าย โดยใช้ความร้อนจากไอน้ำเพื่อแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากพืช โดยไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย ผ่านไอน้ำไปบนสมุนไพร ไอน้ำจะพาเอาน้ำมันหอมระเหย ไปยัง Condenser แล้วกันตัวน้ำมันจะแยกตัวออกจากน้ำในภายหลัง
วิธีการนี้เหมาะสำหรับ:
- พืชชนิดต่างๆ ทั้งที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มากและน้อย
- พืช สมุนไพรที่ทนความร้อนจากใบ ราก เปลือกไม้และยางไม้
- เหมาะสำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหยในปริมาณมาก
ข้อดี
- ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมละมุน
- คงกลิ่นหอมและสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยได้ดี
- เป็นวิธีที่สะดวก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และใช้เวลาไม่นาน
- ไม่ใช้ความร้อน
ตัวอย่างพืชที่เหมาะสำหรับการสกัดด้วยตัวทำละลาย น้ำมันยูคาลิปตัส, น้ำมันมะกรูด, น้ำมันอบเชย, น้ำมันตะไคร้หอม, น้ำมันลาเวนเดอร์
5. การกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation) เป็นวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย จากสมุนไพร ที่ไม่สลายเมื่อถูกความร้อน โดยทำการต้มกับน้ำโดยตรง เมื่อน้ำเดือดระเหยเป็นไอ ไอน้ำจะช่วยพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเนื้อเยื่อของพืชออกมาพร้อมกัน
วิธีการนี้เหมาะสำหรับ:
- พืชที่ทนความร้อนได้ดี
- พืชที่มีเนื้อเยื่อแข็ง เนื่องจากพืชที่มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มอาจเสียหายจากความร้อน during distillation
- พืชที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก
ข้อดี
- ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพสูง มีความบริสุทธิ์ 100%
- คงกลิ่นหอมและสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยได้ดี
- ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง
ตัวอย่างพืชที่เหมาะสำหรับการสกัดด้วยตัวทำละลาย เหมาะกับพืชหลายชนิด เช่น กุหลาบ อบเชย กานพลู ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย นี้เหมาะกับใครบ้าง:
- เกษตรกรที่ต้องการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
- ธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
- ผู้พัฒนาสารสกัดสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
- โรงงานเครื่องสำอาง โรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โรงงานสมุนไพร
สำหรับผู้ที่สนใจใน บริการสกัดน้ำมันหอมระเหย ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง
- พืช ดอกไม้ สมุนไพร และวัตถุดิบจากธรรมชาติอื่นๆ ที่ต้องการนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย
- วัตถุประสงค์ที่จะนำสารหรือน้ำมันสกัดที่สกัดได้ไปทำอะไรต่อไป เช่น ขายเป็นสารสกัด หรือนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น
- เตรียมส่งตัวอย่างพืชมาให้ทาง TIBD ดำเนินการสกัด ที่ตัวอย่างละ 1 กิโลกรัม
การประยุกต์ใช้น้ำมันหอมระเหยในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
น้ำมันหอมระเหยมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ดังนี้
ธุรกิจสปา (Aromatherapy)
ใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยน้ำมันหอมระเหยช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย สบายใจ เหมาะกับการบำบัดและพักผ่อน ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (Skincare Products)
น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ชะลอวัย
ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Haircare Products)
น้ำมันหอมระเหยบางชนิดช่วยบำรุงหนังศีรษะ กระตุ้นการงอกของเส้นผม
ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม (Purfume Products)
ใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยเพื่อส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพจิต และสุขภาพกาย
ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ (Bath & Shower Products)
น้ำมันหอมระเหยบางชนิดช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ผ่อนคลายความตึงเครียด
ยาสามัญประจำบ้าน (Medicine)
น้ำมันหอมระเหยบางชนิดสามารถใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ กระตุ้นการนอนหลับ
TIBD ผู้เชี่ยวชาญในนวัตกรรมการสกัดน้ำมันหอมระเหย
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีสกัดสารที่ล้ำสมัย TIBD เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตพรรม และนำเสนอบริการสกัดน้ำมันหอมระเหยคุณภาพสูงที่สามารถตอบโจทย์ทั้งในด้านความงาม, สุขภาพ, และอื่นๆ ให้กับคุณ เราพร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอแนวทางการสกัดที่เหมาะสมที่สุด สู่การนำนวัตกรรมไปใช้ในธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อเราวันนี้เพื่อเริ่มต้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของคุณด้วยน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพกับ TIBD ติดต่อเราได้ที่ คลิก