สารสกัดกระชายดำ (Black Ginger Extract)
กระชายดำ (Black ginger) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker (syn. Boesenbergia pandurate (Roxb.) Schltr. และมีการขนานนามว่าเป็น “โสมไทย” ที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เหมือนกับขิง ขมิ้น และข่า เป็นสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่ในสมัยโบราณ พบได้ในประเทศมาเลเชีย อินโดนีเชีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยมีการเพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย โดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่ออายุได้ 8-12 เดือน จากงานวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ต่อโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท (Neurodegenerative disorders) การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (anti-oxidation) การต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) การต้านการกลายพันธุ์ (antimutagenic) การต้านเชื้อแบคทีเรีย (antimicrobial) การต้านมะเร็ง (anticancer) การต้านความเหนื่อยล้า (Adaptogenic activity) และอื่นๆ
องค์ประกอบทางเคมีของกระชายดำ
ในกระชายดำมีองค์ประกอบทางเคมีของ Flavonoid, Boesenbergin A, Panduratin A, 4-hydroxypanduratin A, Chalcone, Saponin, Tannin, Alkaloid, Glycoside และ Flavanone และในส่วนของน้ำมันหอมระเหยยังมีองค์ประกอบของ Borneol และ Terpene เป็นองค์ประกอบหลัก โดยพบว่า Chalcone จากสารสกัดกระชายดำนั้นมีฤทธิ์ในการเป็นสาร Anti-oxidant ได้ดีกว่า Flavanone
การประยุกต์ใช้กระชายดำในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
ตามตำรับยาไทยโบราณกล่าวว่ากระชายดำนั้นมีฤทธิ์ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ Phosphodiesterase เพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด และต้านอาหารเหนื่อยล้าได้ โดยไม่มีผลต่อฮีโมโกลบิน เม็ดเลือดขาวและตับ ลดความเสื่อมของอัตราการเกิดเมทาบอลิซึม ลดการทำงานหนักของหัวใจ มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลชีพในช่องปากและทางเดินอาหาร ยับยั้งการบางตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม มีองค์ประกอบกลุ่มไกลไซด์ที่ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล บำบัดภาวะต่อมลูกหมากโต มีฤทธิ์ในการต้านภูมิแพ้ โดยยับยั้งการเกิด Mast cells degranulation
การประยุกต์ใช้กระชายดำในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
ในกระชายดำมีองค์ประกอบของ Boesenbergin A และ Panduratin A ที่มีคุณสมบัติในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Anti-oxidantion) ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) และต้านกระบวนการชรา (Anti-aging) ได้ดีกว่า Resveratrol โดยการลดสัญญาณโมเลกุล MAPKs อันจะเป็นการเพิ่มขึ้นของเอมไซม์ MMP-1 และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา (Anti-fungal activity) เชื้อไวรัส (Anti-viral activity) และ เชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial activity) ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์สาร Tyrosinase ในกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสี (Melanogenesis) เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีฤทธิ์ที่ดีกว่าวิตามินซีและวิตามินอี และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว สาร Boesenbergin A ในสารสกัดกระชายดำนั้นมีประสิทธิภาพในการลดระดับสารไนตริกออกไซด์ (NO level) ที่เป็นสัญญาณของการอักเสบ
คุณสมบัติของกระชายดำ
Anti-aging
ฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดริ้วรอย ชะลอผิวให้ดูอ่อนวัย
Immunity
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
Whitening
แก้ปัญหาผิวคล้ำเสีย เปลี่ยนสีผิวให้ขาวกระจ่างใส
Anti-wrinkle
แก้ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยจากกระชายดำ
สารสกัดจากกระชายดำสามารถพัฒนาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เช่น กระบวนการสกัด หรือกระบวนการพัฒนา Nanoemulsion หรือ Encapsulation เพื่อเพิ่มความคงตัวของสารสกัด และการนำส่งไปยังอวัยวะเป้าหมาย โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Than Than Yee and Kyi War Yi Lwin. “Study of Phytochemical Composition on Kaempferia Parviflora Wall. Ex Baker” IFFF-SEM 7 (2019): 128-136.
Chahyadi, Agus, Rika Hartati, and Komar Ruslan Wirasutisna. “Boesenbergia pandurata Roxb., an Indonesian medicinal plant: Phytochemistry, biological activity, plant biotechnology.” Procedia Chemistry 13 (2014): 13-37.
Tewtrakul, Supinya, Sanan Subhadhirasakul, and Sopa Kummee. “Anti-allergic activity of compounds from Kaempferia parviflora.” Journal of ethnopharmacology 116.1 (2008): 191-193.
Temkitthawon, Prapapan, et al. “Kaempferia parviflora, a plant used in traditional medicine to enhance sexual performance contains large amounts of low affinity PDE5 inhibitors.” Journal of ethnopharmacology 137.3 (2011): 1437-1441.
Chahyadi, Agus, Rika Hartati, and Komar Ruslan Wirasutisna. “Boesenbergia pandurata Roxb., an Indonesian medicinal plant: Phytochemistry, biological activity, plant biotechnology.” Procedia Chemistry 13 (2014): 13-37.