สารสกัดมะเกี๋ยง (Sunrose Willow Extract)
มะเกี๋ยง (Sunrose Willow, Creeping Water Primose) หรือ หว้าส้ม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cleistocalyx nervosum var. paniala วงศ์ Myrtaceae เช่นเดียวกับหว้า เป็นพืชท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย แถบจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ผลมีลักษณะเล็กสีม่วงแดง กลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศอินเดียและบังกลาเทศ นิยมบริโภคในรูปผลสด และผลดอง หรือสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย เช่น น้ำผลไม้ ไวน์ ชา โยเกิร์ต หรือแยม มะเกี๋ยงมีสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ เบต้า-คาโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินอี และกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ลูซีน ฟีนิลอะลานีน วาลีน ไลซีน ทรีโอนีน เป็นต้น มะเกี๋ยงถูกจัดเป็นพืชที่อยู่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามตำรายาพื้นบ้านล้านนา นิยมนำเปลือกต้นมีต้มเพื่อบำบัดอาการท้องเสีย อาบแก้โรคผิวหนัง ช่วยให้แผลหายเร็ว ยาฝาดสมาน และใช้ผลมะเกี๋ยงมาช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคความจำเสื่อม โรคปากนกกระจอก เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยสารออกฤทธิ์สำคัญที่พบในผลของมะเกี่ยง คือสารประกอบฟีนอลิก, สารประกอบฟลาโวนอยด์ และแอนโธไซยานิน เช่น Resveratrol, Tannin, Quercetin, Cyanidin-3-glucoside, Cyanidin-5-glucoside, Kaempferol, Catechin, Catechol, Gallic acid และ Malic acid จึงมีส่วนสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidation) ชะลอวัย (Anti-aging) คุณบัติต้านสารก่อมะเร็ง (Anti-carcinogenic properties) ต้านการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (Anti-mutagenicity activity) และยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial activity)
สารสกัดจากผลมะเกี๋ยงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
สารสกัดจากผลมะเกี๋ยงในฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial activity) เช่น Propionibacterium acnes และ Staphylococcus aureus ที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว มีฤทธิ์ในต้านอนุมูลอิสระ และมีประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยเมื่อเทียบกับ Placebo และสามารถลดการสะสมของรงควัตถุบอกความชรา (Age pigment) ยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนส ลดเลือนจุดด่างดำ (Anti-dark spot) ผิวกระจ่างใส (Brightening) มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระผ่านกลไกการลด Lipid peroxidation และเพิ่มระดับปริมาณ Glutathione peroxidase activity หรือสามารถประยุกต์ใช้เป็นสีย้อมผมจากธรรมชาติได้อีกด้วยเนื่องจากมีปริมาณเอนโทไซยานินสูง
สารสกัดจากผลมะเกี๋ยงในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
เนื่องจากสารในผลเกี๋ยงประกอบด้วยสารที่ต้านอนุมูลอิสระและวิตามินต่างๆ มากมาย ดังนั้น นอกจากมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น ลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ช่วยในการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ต้อกระจก และโรคข้ออักเสบ ชะลอวัย ปกป้องเซลล์ประสาท (Neuroprotective activity) เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune enhancer) ลดพิษอันเนื่องมาจากโลหะหนัก (Anti-heavy metal toxicity)
คุณสมบัติของสารสกัดจากมะเกี๋ยง
Moisturizing
เพิ่มความชุ่มชื้น ปรับผิวให้เรียบเนียนสม่ำเสมอ
Hair growth
บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ยาวเร็ว
Obesity
ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก แก้ปัญหาโรคอ้วน
Anti-diabetes
ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากมะเกี๋ยง
สารสกัดจากผลมะเกี๋ยงสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตสารสกัด สายพันธุ์ แหล่งที่ปลูก การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
พิมพ์ใจ อาษา. “องค์ประกอบ ทาง เคมี และ ฤทธิ์ ต้าน เชื้อ Propionibacterium acnes และ staphylococcus aureus ของ เมล็ด มะเกี๋ยง= Chemical constituents and antibacterial activity on propionibacterium acnes and staphylococcus aureus of cleistocalyx nervosum var. paniala seeds.”
ธน ธร รจนา กูล. “การ พัฒนา ผลิตภัณฑ์ ลด ริ้ว รอย จาก สาร สกัด เมล็ด มะเกี๋ยง= Development of an anti-wrinkle product from seed extracts of Eugenia paniala Roxb.”
Taya, Sirinya. Antioxidant Activities of Cleistocalyx nervosum var. paniala Extract and Its Effect on Chemicals Induced Multi-step Hepatocarcinogenesis in Rats= ฤทธิ์ ต้าน อนุมูล อิสระ ของ สาร สกัด มะเกี๋ยง และ ผล ต่อ การ เกิด มะเร็ง ตับ หลาย ขั้น ตอน ที่ เหนี่ยว นำ ด้วย สาร เคมี ใน หนู ขาว. Diss. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University, 2010, 2010.
Prasanth, Mani Iyer, et al. “Functional properties and Bioactivities of Cleistocalyx nervosum var. paniala berry plant: a review.” Food Science and Technology 40 (2020): 369-373.
Thuschana, Waristha, et al. “Chemical constituents and antioxidant activities of Cleistocalyx nervosum fruits in in vitro and in vivo models.” Thai Journal of Toxicology 27.2 (2012): 194-194.