Oxyresveratrol สารสกัดจากแก่นมะหาด
มะหาด หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในวงศ์Moraceae พบได้ในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว และมาเลเชีย เป็นต้น โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคใต้ จากการศึกษาพบว่าแก่นของต้นมะหาดมีองค์ประกอบของสารกลุ่มสติลบินอยด์และกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น Resveratrol, Oxyresveratrol, Artocarpin, Norartocarpin, Cycloartocarpin และ Norcycloartocarpin ในตำรายาไทยมีการนำแก่นมะหาดมาใช้ในการเป็นยาขับพยาธิ แก้ท้องอืด ขับปัสสาวะ แก้เสมหะ สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส เช่น HIV HSV1 และ HSV2 และยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ทางด้านเครื่องสำอางแกนมะหาดมีชื่อเสียงในเรื่องของการเป็นสาร Whitening ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสในกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง โดยสาร Oxyresveratrol นั้นมีโครงสร้างที่แตกต่างกับ Resveratrol เช่น Oxyresveratrol มีหมู่ hydroxyl มากกว่า Resveratrol ทำให้มีประสิทธิภาพในเรื่องของ Anti-oxidation และ Whitening agent ที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Resveratrol


การประยุกต์ใช้สาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
สาร Oxyresveratrol นั้นมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นสารในกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีใกล้ผิวหนัง โดยพบว่า Oxyresveratrol จากแก่นมะหาด มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้มากกว่า Resveratrol ถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินซี โดยเห็นผลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า Kojic acid และ สารสกัดจากชะเอมเทศ (Licorice Extract) เมื่อเทียบกับวิตามินซีพบว่า วิตามินซี (Ascorbic acid) ยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ไทโรซิเนส และมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนเม็ดสีเมลานินให้จางลง ส่วน Oxyresveratrol นั้นจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อ DOPA oxidase activity ของ tyrosinase ในกระบวนการการสังเคราะห์เมลานิน จึงทำหน้าที่เป็นสาร Whitening และ Anti-dark spot อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นสารที่ช่วยส่งเสริมเรื่อง Anti-aging โดยผ่านกระบวนการ anti-glycation โดยกระบวนการไกลเคลชั่น (Glycation) คือ การเชื่อมกันของสารโปรตีนกับโปรตีน หรือโปรตีนกับโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่ก่อให้เกิดสารประกอบใหม่ที่มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะ โดยกระบวนการนี้จะเกิดเมื่อเซลล์ของผู้ที่มีอายุมาก โดยมีผลทำให้โครงสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังถูกทำลาย ผิวขาดความยืดหยุ่น และเกิดริ้วรอย (Wrinkle) ที่ผิว นอกจากนี้ยังพบว่า สาร Oxyresveratrol ยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการงอกของเส้นผม
การประยุกต์ใช้สาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาดในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
จากการทดสอบพบว่าสาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิดแพร่กระจาย B16F10 melanoma มีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคอ้วนโดยการส่งเสริมการเผาผลาญไขมัน ช่วยในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) และเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน (Immunoregulatory)
คุณสมบัติของสาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาด

Whitening
แก้ปัญหาผิวคล้ำเสีย เปลี่ยนสีผิวให้ขาวกระจ่างใส

Anti-acne
ลดการเกิดสิว

Dark spot
ลดเลือนฝ้ากระ จุดด่างดำ

Immunity
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาด
สาร Oxyresveratrol จากแก่นมะหาดสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มความคงตัวให้แก่สารสำคัญ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Zeng, Hua-Jin, et al. “A comparative study on the effects of resveratrol and oxyresveratrol against tyrosinase activity and their inhibitory mechanism.” Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy 251 (2021): 119405.
Aftab, Nan, Kittisak Likhitwitayawuid, and Amandio Vieira. “Comparative antioxidant activities and synergism of resveratrol and oxyresveratrol.” Natural product research 24.18 (2010): 1726-1733.
Natakankitkul, Surapol, et al. “COSMECEUTICAL DEVELOPMENT OF OXYRESVERATROL FROM MAHAD (ARTOCARPUS LAKOOCHA ROXB.).” Thai J. Pharm. Sci 38 (2013).
Chung, Kyung-Ook, et al. “In-vitro and in-vivo anti-inflammatory effect of oxyresveratrol from Morus alba L.” Journal of Pharmacy and Pharmacology 55.12 (2003): 1695-1700.
Likhitwitayawuid, Kittisak. “Oxyresveratrol: Sources, Productions, Biological Activities, Pharmacokinetics, and Delivery Systems.” Molecules 26.14 (2021): 4212.