สารสกัดมะขามป้อม (Indian gooseberry Extract)
มะขามป้อม (Indian gooseberry) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นพืชที่อยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ผลมะขามป้อม มีรสฝาด เปรี้ยว ขม อมหวาน โดยให้ผลประมาณเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ตามตำรับยาของอินเดียหรือยาอายุรเวทถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสายตา บำรุงสมอง รักษาโรคท้องผูกหรือใช้เป็นยาถ่าย
องค์ประกอบทางเคมีของมะขามป้อม
ผลมะขามป้อมมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ วิตามินซี, Albumin, Emblicanin A, Emblicanin B, Punigluconin, Pedunculagin, Glutamic acid, Proline, Aspartic acid และ Lysine โดยผลมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าส้มและมะเขีอเทศ มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) สารต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunomodulatory) ปกป้องเยื่อบุทางเดินอาหาร (Cytoprotective) ต้านมะเร็ง (Anti-cancer) มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-microbial) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและเชื้อราบางชนิด
สารสกัดจากผลมะขามป้อมในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
Gallic acid และ Vitamin C ที่เป็นองค์ประกอบในมะขามป้อมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มะขามป้อมมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก ช่วยในการยับยั้ง IL-6 และ TNF ที่เป็นสารสื่อสำคัญในกระบวนการการอักเสบ ทำให้มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Inflammatory activity) เพิ่มความกระจ่างใส (Whitening) โดยสามารถใช้ทดแทนอย่าง Hydroquinone ได้ มีส่วนช่วยในการลดเลือนริ้วรอย (Anti-wrinkle) ช่วยยับยั้งเอมไซม์ Collagenase Hyaluronidase และ Matrix metalloproteinase-1 (MMP-1) ในชั้นผิวหนัง ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน ทำให้ชั้นผิวยังคงความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันความชราของผิวอันเนื่องมาจากแสง UV (Photo-aging) อีกทั้งผลของมะขามป้อมยังช่วยยับยั้ง 5 alpha- reductase ทำให้เส้นผมเจริญเติบโต (Hair growth) ได้ดี และช่วยในการป้องกันการเกิดรังแคบนหนังศรีษะ และเมื่อใช้ร่วมกับน้ำมันมะพร้าวพบว่าช่วยยับยั้งผมหงอกก่อนวัยได้อีกด้วย
สารสกัดจากผลมะขามป้อมในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
สารสกัดในมะขามป้อมช่วยลด oxidative stress ในร่างกาย ต้านการอักเสบ และไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ดีขึ้น ช่วยปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective effect) ช่วยเพิ่มปริมาณเอมไซม์ Hepatic HMG-CoA reductase ทำให้เกิดการแตกตัวของ Cholesterol เมื่อผลมะขามป้อมอยู่ในสูตรสมุนไพรตรีผลา (Triphala) พบว่ามีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดคล้ายคลึงกับยา Glibenclamide และสามารถลดความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกทำลาย (Neuropathic pain) เนื่องผลของมะขามป้อมสามารถต้านการเกิดอนุมูลอิสสระและสามารถยับยั้ง alpha-amylase และ glucosidase ได้ ช่วยในการลดไข้ (Anti-pyretic effect) บรรเทาอาการไอ (Anti-tussive effect) ชุ่มชื่นคอ วิตามินซีในมะขาวป้อมช่วยในการขยายหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง (Lowering blood pressure)
คุณสมบัติของสารสกัดมะขามป้อม
Brightening
แก้ปัญหาความหมองคล้ำปรับสีให้ผิวขาวใส เรียบเนียบ สม่ำเสมอ
Anti-wrinkle
แก้ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น
Hair growth
บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ยาวเร็ว
Anti-dandruff
แก้ปัญหาการเกิดรังแคบนหนังศรีษะ
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากผลมะขามป้อม
สารสกัดจากผลมะขามป้อมสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตสารสกัด การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Lanka, Suseela. “A review on pharmacological, medicinal and ethnobotanical important plant: Phyllanthus emblica linn.(syn. Emblica officinalis).” World Journal of Pharmaceutical Research 7.04 (2018): 380-396.
Ahmad, Bashir, et al. “Phyllanthus emblica: A comprehensive review of its therapeutic benefits.” South African Journal of Botany 138 (2021): 278-310.
Hasan, Md Rubaiyat, Md Nasirul Islam, and Md Rokibul Islam. “Phytochemistry, pharmacological activities and traditional uses of Emblica officinalis: A review.” International Current Pharmaceutical Journal 5.2 (2016): 14-21.
Yadav, Suraj Singh, et al. “Traditional knowledge to clinical trials: A review on therapeutic actions of Emblica officinalis.” Biomedicine & Pharmacotherapy 93 (2017): 1292-1302.