เครื่องจักรและระบบการผลิต IOT

การสร้างเครื่องจักรสำหรับผลิตในปัจจุบันต้องคำนึงถึงการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ซึ่งการลดความสูญเปล่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดต้นทุนในการดำเนินการของธุรกิจใดๆ เพื่อสร้างกำไรให้กับองค์กรโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า

การดำเนินการเพื่อลดความสูญเปล่านี้สามารถเริ่มต้นได้จากการดำเนินงานที่ต้องคำนึงถึงกิจกรรมในกระบวนการผลิต ซึ่งกิจกรรมการทำงานในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบหรือข้อมูลข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ใช้ทรัพยากรของเราไป เช่น เวลา พนักงาน เครื่องจักร พื้นที่ เป็นต้น แต่ไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เราเรียกกิจกรรมประเภทนี้ว่า “ความสูญเปล่า” เพราะลูกค้าจะยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อสิ่งที่ให้คุณค่ากับเขาเท่านั้น แต่จะไม่เต็มใจจ่ายเงินซื้อความสูญเปล่าโดยเด็ดขาด ดังนั้น กการปรับปรุงระบบการผลิตจะต้องคำนึงถึงการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ

ในปัจจุบัน เราสามารถนำเอาเทคโนโลยี IOT หรือ Machine to Machine เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันมาเชื่อมต่อกับระบบการผลิต เพื่อให้เราสามารถรวมศูนย์ระบบการปฏิบัติการผลิต เข้าใจกระบวนการผลิต และทบทวนระบบการผลิตด้วย Big Data ได้ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยอัตโนมัติแบบไม่มีที่สิ้นสุด หรือ Lean in Manufacturing

บริการออกแบบและสร้างเครื่องจักรด้วยนวัตกรรม

บริการของเรามีบริการออกแบบและสร้างเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมเป็นบริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการเครื่องจักรที่มีรูปแบบเฉพาะ มีการใช้งานเฉพาะ โดยอาศัยกระบวนการทำงาน กำลังการผลิต และขนาดพื้นที่ที่ลูกค้าต้องการเป็นหลัก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงงานของตนเอง นอกจากบริการสร้างเครื่องจักรตามความต้องการแล้ว ยังมีบริการให้คำปรึกษาสำหรับแก้ไขปัญหาระบบการผลิตทั้งระบบด้วยแนวการใช้นวัตกรรมเข้าไปแก้ปัญหาในกระบวนการแบบครบวงจรด้วย

ทำไมต้องสร้างเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

ในสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เกิดความท้าทายต่อระบบการผลิตมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมต่อทุกสภาวะการณ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีฟังก์ชันการทำงานมากขึ้น คำนึงถึงการประหยัดพลังงานและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมขั้นสูง คือ

  • เวลาการเข้าสู่ตลาด (Time to market) ของสินค้าจะสั้นลง
  • กระบวนการผลิตต้องอาศัยความเที่ยงตรงแม่นยำ (High precision)
  • ผู้ประกอบการไทยที่จะต้องกระชับระบบการผลิต (Streamline)
  • การยกระดับความสามารถในการผลิต (Manufacturing capabilities) ให้เหนือกว่าคู่แข่ง
เครื่องจักรและระบบการผลิต IOT

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายคือ การลดต้นทุนการผลิต โดยสามารถทำได้ในสองแนวทางหลักๆ คือ ลดการสูญเสียทรัพยากร และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสูญเสียทรัพยากรในองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ ผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบ เครื่องจักรเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงและเป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้นควรใช้หรือเปลี่ยนเครื่องจักรให้เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงมาแทนเครื่องจักรเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำและควรปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอนให้สามารถใช้ประโยชน์เครื่องจักร (Utilization) สูงสุดและให้เกิดของเสียน้อยที่สุด

ข้อดีของการสร้างเครื่องจักรด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

  • สามารถวางแผน และเห็นรูปแบบเครื่องจักรก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการตัดสินใจลงทุนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ (High Risk High Expected Return)
  • สามารถออกแบบเครื่องจักรได้ตามความต้องการ และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการผลิตที่อยู่ก่อนหน้า – หลัง ได้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (Continuous Process Flow)
  • สามารถเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในกระบวนการผลิตตามความต้องการได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด
  • ออกแบบได้ตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมหน้างาน ได้นานขึ้น และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพระหว่างการทำงาน
  • สามารถติดตามกระบวนการผลิต (Visualization Dashboard) ได้แบบเรียลไทม์ ด้วยระบบ IOT (Internet of Thing) ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้ทันที
  • สามารถลดต้นทุนในการซื้อเครื่องจักรในประเทศไทย และสามารถวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร หรือซ่อมแซมเครื่องจักรได้ (Preventive Maintenance) ซึ่งหากนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศจะทำให้ซ่อมแซมเครื่องจักร และวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องได้ยาก
  • สามารถจดเป็นสิทธิบัตรสำหรับเป็นเจ้าของเครื่องจักรได้ (Patent Analytics ป้องกันการลอกเลียนแบบเครื่องจักรได้ นอกจากนี้ สามารถผลิตเครื่องจักรสำหรับขายเพื่อสร้างรายได้ในอนาคตได้

รูปแบบการบริการ

1. ออกแบบเครื่องจักรด้วยระบบ 3D

3D-Machine-Design

 

 

เป็นการให้บริการแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักรด้วยระบบ 3D โดยอาศัยกระบวนการทำงาน กำลังการผลิต และขนาดพื้นที่ที่ลูกค้าต้องการเป็นหลัก รวมถึงการวางแผนให้เกิดระบบการผลิตที่มีคุณภาพ และมีผลิตภาพการผลิตสูงสุดทั้งกระบวนการผลิตโดยอาศัยหลัก Continuous Flow ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้การออกแบบเครื่องจักรได้ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ และหลัก ECRS เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้ง่าย และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน โดยลูกค้าสามารถเห็นภาพเครื่องจักรเป็นภาพ 3มิติ ที่แสดงถึงรูปลักษณ์ ฟังก์ชั่นการใช้งานของเครื่องจักร และวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบเครื่องจักร รวมถึงการแสดงถึงค่าใช้จ่ายและงบประมาณลงทุนก่อนตัดสินใจด้วย

2.สร้างเครื่องจักรตามความต้องการด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

Machine-Design

เป็นการให้บริการแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักร โดยสามารถนำต้นแบบเครื่องจักรไปทำวิศวกรรมย้อนกลับ คือ กระบวนการค้นหาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบหนึ่ง ๆ มักเกี่ยวข้องกับการแยกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ออกจากกัน (ได้แก่ เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์) แล้ววิเคราะห์การทำงานในแต่ละส่วน จากนั้นจึงนำมาสร้างอุปกรณ์ใหม่หรือโปรแกรมใหม่ ที่ทำงานได้เหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมคือสามารถทำงานได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือกระบวนการผลิตมากขึ้น หรือสามารถปรึกษาสร้างเครื่องจักรเครื่องใหม่ที่ไม่เคยมีที่ใดมาก่อน เป็นเครื่องจักรเฉพาะใช้ในกระบวนการที่ต้องการเท่านั้น ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิต เป็นหลักการในการออกแบบแนวคิดสร้างระบบอัตโนมัติ ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ เครื่องจักร คน ต้นทุน ความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้งาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้แก่โรงงาน และสร้างความสามารถในการแข่งขัน และบริการหลังการขายอย่างเป็นระบบ

3. สร้างระบบ IOT หรือ AI ประยุกต์เข้ากับกระบวนการผลิต

Virtual-Dashboard

เป็นการให้บริการแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการแสดงผลข้อมูล Database จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในสายการผลิต ให้รู้สถานะและประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ สามารถออกแบบการแสดงผล (Visualization Dashboard) ได้หลากหลายตั้งแต่ข้อมูลมาตรฐานที่สายการผลิตต้องมี และสามารถออกแบบตามความต้องการเฉพาะของแต่ละสายการผลิต โดยมุ่งเน้นการชี้บ่งความสูญเปล่าได้ชัดเจน เพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่รวดเร็ว วิเคราะห์เพื่อวางแผนและปรับปรุงกระบวนการอย่างได้ผล

4. ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา

intellectual-property_machine

เป็นการให้บริการแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักรซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากเครื่องจักรที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยนวัตกรรมขั้นสูงนั้นเป็นเครื่องจักรที่สร้างตามความต้องการเพื่อคุณโดยเฉพาะ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจดสิทธิบัตรยืนยันสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในเครื่องจักรเพื่อป้องกันการโดนละเมิดสิทธิ์ไม่ให้ผู้อื่นได้ลอกเลียนแบบ ผลิต และทำซ้ำ นอกจากการจดทะเบียนแล้วเราสามารถช่วยคุณวางกลยุทธ์สำหรับปกป้องและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ ด้วยการวิเคราะห์เทรนด์ เทคโนโลยีและแนวโน้มในอุตสาหกรรม สร้างจุดแข็งที่โดดเด่นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กรของคุณให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคเพื่อมุ่งการเป็นผู้นำในตลาด

คุณจะได้อะไรจากบริการนี้ของเรา

  1. ให้บริการและคำแนะนำในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร เพื่อที่จะเข้าใจแนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแบบเชิงลึก ให้สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดและพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการในตลาด
  2. ให้คำปรึกษาและเตรียมความพร้อมพาองค์กรของคุณเข้าสู่ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมไปถึงการวิเคราะห์กลยุทธ์ เทคโนโลยี ประเมินความเสี่ยง และความสามารถของคู่แข่งในตลาด
  3. ให้คำปรึกษาและความรู้ในเรื่องของสิทธิและความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบเครื่องจักร การจดทะเบียน การสร้างแบรนด์ และการสร้างภาพลักษณ์
  4. ให้คำปรึกษาและผลักดันเครื่องจักรให้เข้าสู่ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เตรียมความพร้อมสู่ระดับสากล

 

ซึ่งมีขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองกับ TIBD ดังนี้

  1. ปรึกษาและแจ้งความต้องการกับเรา TIBD
  2. สืบค้น ตรวจสอบสิทธิบัตรก่อนหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิบัตรที่จดจะไม่ซ้ำกับกับสิทธิของผู้อื่น ซึ่งลูกค้าสามารถเช็คได้จากทางช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเองตามเว็บไซต์นี้
  3. วิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและนอกประเทศ ประยุกต์ใช้ข้อมูล วางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ดำเนินการยื่นคำร้องขอจดสิทธิบัตร ช่วยวางแผนและกลยุทธ์ในการยื่นจดทะเบียน และให้คำปรึกษาและแก้ไขหากได้รับหนังสือชี้แจง

 

เว็บไซต์ตรวจสอบสิทธิบัตรของแต่ละประเทศLINK
สำนักงานสิทธิบัตร WIPO (องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก)Link
สำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นLink
สำนักงานสิทธิบัตรไทยLink
สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปLink
สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาLink
สำนักงานสิทธิบัตรสิงคโปร์Link
สำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลียLink
สำนักงานสิทธิบัตรอังกฤษLink
สำนักงานสิทธิบัตรอาเซียนLink
สำนักงานสิทธิบัตรอินเดียLink

สอบถามเกี่ยวกับเครื่องจักรและระบบการผลิต IOT

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด