สารสกัดจากบัวหลวง (Lotus Extract)
บัวหลวง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. อยู่ในวงศ์ Nelumbonaceae มีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจัดเป็นพืชพื้นถิ่น มีการใช้ประโยชน์มากมายทั้งบริโภคและวัฒนธรรม ตามตำราจีน แก้ปัสสาวะบ่อย เลือดกำเดาไหล แก้อาการท้องเสีย อาการช้ำใน ช่วยให้นอนหลับ และตามตำรายาไทยนำเกสรบัวหลวงมาใช้ในการบำรุงหัวใจ ปอด ตับ แก้ไข้ บรรเทาอาการผดผื่นคัน แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และบำรุงธาตุในร่างกาย โดยพบว่ามีการใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ตำรับยาเขียวหอม ตำรับยาตรีเกสรมาศ ตำรับยาหอมนวโกศ เกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และพิกัดบัวทั้ง 5 เพื่อบรรเทาอาการไข้ อาการอ่อนเพลีย แก้เลือดกำเดาไหล และแก้อาการท้องเสีย
องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดบัวหลวง
ในเกสรตัวผู้ของบัวหลวงมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ Quercetin, Luteolin, Isoquercetin และ Luteolin glucoside ส่วนดอกบัวมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ Quercetin, Luteolin, Luteolin Glucoside, Kaempferol, Kaempferol-3-galactoglucoside และ Kaempferol-3-diglucose จึงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ลดภาวะ Oxidative stress การต้านการอับเสบ (Anti-inflammatory) การต้านเชื้อจุลชีพ แบคทีเรีย และรา มีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตและต้านการเต้นของหัวใจผิดปกติ ช่วยบำรุงประสาท และหัวใจ บรรเทาอาการหน้ามืด บรรเทาอาการปวด ขับเสมหะ ช่วยลดการเกิดภาวะเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่ตาในผู้ป่วยเบาหวาน และช่วยบำรุงครรภ์
สารสกัดจากบัวหลวงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
ดอกบัวหลวงมีฤทธิ์ในการยับยั้งไนตริกออกไซด์ (NO), IL-4 และ IL-10 ที่เป็นสัญญาณของกระบวนการอักเสบ(Anti-inflammatory) การต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial activity) และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี จึงสามารถมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปลอบประโลมผิว (Nourishing) ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิว ผิวแพ้อักเสบ และผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกระจ่างใสได้
สารสกัดจากบัวหลวงในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
เกสรบัวหลวงมีฤทธิ์ในการลดการเกิดภาวะเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด (Hypoglycemicactivity) ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ลดอาการอักเสบ (Anti-inflammatory) ช่วยในการนอนหลับ มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase จึงช่วยป้องกันภาวะความจำบกพร่อง บำรุงระบบประสาท ช่วยบรรเทาอาการไข้ (Antipyretic activity) และบำรุงร่างกาย (Aphrodisiac activity)
คุณสมบัติของสารสกัดบัวหลวง
Brightening
แก้ปัญหาความหมองคล้ำปรับสีให้ผิวขาวใส เรียบเนียบ สม่ำเสมอ
Anti-acne
ลดปัญหาสิว
Immunity
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
Anti-Inflammatory
บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากบัวหลวง
สารสกัดจากเกสรบัวหลวงสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประทางเคมีในส่วนต่าง ๆของบัวหลวง เช่น ราก เหง้า กลีบ เกสร ก้านและใบบัว ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดของบัวหลวงในแต่ละพื้นที่ การทำให้สารสกัดมีความบริสุทธิ์ การทดสอบประสิทธิภาพและความคงตัวของสารสกัด การพัฒนารูปแบบของการนำสารสกัดไปใช้ และประยุกต์ใช้รูปแบบเทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Kaur, Prabhsimran, et al. “A brief review on pharmaceutical uses of Nelumbo nucifera.” Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry 8.3 (2019): 3966-3972.
Sheikh, Subzar Ahmad. “Ethno-medicinal uses and pharmacological activities of lotus (Nelumbo nucifera).” Journal of Medicinal Plants Studies 2.6 (2014): 42-46.
Tungmunnithum, Duangjai, Darawan Pinthong, and Christophe Hano. “Flavonoids from Nelumbo nucifera Gaertn., a medicinal plant: uses in traditional medicine, phytochemistry and pharmacological activities.” Medicines 5.4 (2018): 127.
Mehta, Nishkruti R., et al. “Nelumbo nucifera (Lotus): a review on ethanobotany, phytochemistry and pharmacology.” Indian Journal of Pharmaceutical and Biological Research 1.04 (2013): 152-167.
Paudel, Keshav Raj, and Nisha Panth. “Phytochemical profile and biological activity of Nelumbo nucifera.” Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine 2015 (2015).