สารสกัดดอกคำฝอย (Safflower Extract)
ดอกคำฝอย (Safflower) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ Compositae ตัวดอกและเกสรมีรสหวานร้อน และขมเล็กน้อย ถิ่นกำเนิดของดอกคำฝอยอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในประเทศไทยมีการปลูกขึ้นในแถบภาคเหนือ ตามตำรายาไทยพบว่ามีการใช้ดอกคำฝอยช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจและโลหิต รักษาอาการหวัด ไขข้ออักเสบ รักษาอาการบวม อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาสามัญประจำบ้าน โดยในดอกคำฝอยมีองค์ประกอบทางเคมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่ม Flavonoids เช่น Quinochalcones, Glycosides, Kaempferol และ Saffloquinoside 2.กลุ่ม Alkaloids เช่น Feruloylserotonin, Feruloyltryptamine และ Serotonin และ 3.กลุ่มกรดไขมัน เช่น Linolic acid, Oleic acid, Palmitic acid และ Stearic acid ที่ส่งผลให้มีฤทธิ์ต่างๆ เช่น การต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation), การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory), การต้านการแข็งตัวของเลือด (Anti-coagulant) ปกป้องหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular protection) ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด (Anti-diabetes mellitus) มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial) ปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective) อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) เช่น Sacillus subtilis, Bacillus cereus และ Bacillus mycoides ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา เช่น Candida albicans, Rhodotorula rubra, Aspergillus fumigatus, Aspergillus niger และ Penicillium expansum เป็นต้น
การประยุกต์ใช้สารสกัดจากดอกคำฝอยในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industries)
ในฤทธิ์การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ของดอกคำฝอย พบว่าส่งผลต่อ Pro-inflammatory cytokines เช่น Tumor necrosis factor (TNF-α) และ Interleukin (IL)-1b อุดมไปด้วย Flavonoids จึงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) Linoleic acid และโอเมก้า ในน้ำมันคำฝอยช่วยทำให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่น และเนียนนุ่ม สามารถนำไปประยุกต์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้หลากหลาย โดยจะเห็นได้มากในผลิตภัณฑ์ประเภทบำรุงผม และบำรุงผิว
การประยุกต์ใช้สารสกัดจากดอกคำฝอยในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industries)
มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) จึงมีส่วนช่วยในอาการที่เกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระ เช่น ก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตผิดปกติ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และกระบวนการเสื่อมตามวัย (Aging) น้ำมันเมล็ดคำฝอยนั้นอุดมไปด้วย Linoleic acid ทำให้มีส่วนช่วยในกระบวนการต้านการอักเสบในไขข้อและเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม ช่วยบำรุงประสาท กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยในการป้องกันการเกาะตัวของลิ่มเลือด (Anti-coagulant)
คุณสมบัติของสารสกัดจากดอกคำฝอย
Anti-aging
ฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดริ้วรอย ชะลอผิวให้ดูอ่อนวัย
Anti-diabete
ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Anti-inflammatory
บรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ
Immunity
เสริมสร้างภุมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารสกัดจากคำฝอย
ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบสารสกัดจากคำฝอยและผลิตภัณฑ์จากคำฝอยเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด หรือการพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการในการสกัด และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กับสารสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Delshad, E., Yousefi, M., Sasannezhad, P., Rakhshandeh, H., & Ayati, Z. (2018). Medical uses of Carthamus tinctorius L.(Safflower): a comprehensive review from traditional medicine to modern medicine. Electronic physician, 10(4), 6672.
Zhang, L. L., Tian, K., Tang, Z. H., Chen, X. J., Bian, Z. X., Wang, Y. T., & Lu, J. J. (2016). Phytochemistry and Pharmacology of Carthamus tinctorius L. The American journal of Chinese medicine, 44(02), 197-226.
Asgarpanah, J., & Kazemivash, N. (2013). Phytochemistry, pharmacology and medicinal properties of Carthamus tinctorius L. Chinese journal of integrative medicine, 19(2), 153-159.
Zhou, X., Tang, L., Xu, Y., Zhou, G., & Wang, Z. (2014). Towards a better understanding of medicinal uses of Carthamus tinctorius L. in traditional Chinese medicine: a phytochemical and pharmacological review. Journal of ethnopharmacology, 151(1), 27-43.