สารสกัดกุหลาบมอญ (Damask Rose Extract)
ยับยั้งการเกิดสิว ลดเลือนจุดด่างดำ และช่วยบรรเทาโรคต่างๆ
กุหลาบมอญ หรือยี่สุ่น หรือเหม่ยกุยฮัวในภาษาจีน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rosa damascene Mill อยู่ในวงศ์ Rosaceae มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียแล้วจึงแพร่ไปยังเขตอบอุ่นของยุโรป มีการปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องหอม เป็นสัญลักษณ์ของความสวยงามและความรัก ในสมัยเปอร์เชียมีการนำกุหลาบมอญมาเป็นสัตถุดิบในการสกัดน้ำมันหอมระเหย แล้วจึงแพร่ไปสู่อาณาจักรออตโตมัน ปัจจุบันนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในตุรกี บัลกาเรีย อิหร่าน อินเดีย จีน เขตตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา และยุโรปบางประเทศ เพื่อผลิตน้ำมันและน้ำจากกุหลาบ ดอกกุหลาบแห้ง รวมถึงสารสกัดจากดอกกุหลาบ ในประเทศไทยพบกุหลาบมอญมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านอาหาร ด้านเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งการสกัดเพื่อทำน้ำมันหอมระเหยในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ในตำรับยาไทย มีการนำกุหลาบมอญมาใช้เพื่อสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
องค์ประกอบทางเคมีของกุหลาบมอญ
ในกุหลาบมอญมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก สารประกอบโฟวานอยด์ เทอร์พีน และ แอนโทไซยานิน เช่น Kaempferol, Cyanidin-3, Cyanidin-5, D-glycoside, Quercetin, Gallic acid, Carotenoids, Vitamin C, Vitamin A และ Vitamin B และน้ำมันกลุ่มระเหยง่าย เช่น Citronellol, Geraniol และ Henicosane จึงมีฤทธิ์ในการผ่อนคลาย (Hypnosis) บรรเทาอาการปวด (Analgesia) ปกป้องระบบประสาท (Neuroprotection) บรรเทาอาการชัก (Anti-convulsion) ปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardioprotection) ขยายหลอดลม (Bronchodilatory) ยับยั้งจุลชีพ(Anti-microbial) ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ยับยั้งอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation)
การประยุกต์ใช้สารสกัดจากกุหลาบมอญในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industries)
สารสกัดจากกุหลาบมอญมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, B. subtilis, Stapha. Aureus, Chromobacterium violaceum และ Erwinia carotovora จึงมีส่วนช่วยในการลดสาเหตุของการก่อให้เกิดสิว (Anti-acne) และยับยั้งการอักเสบ (Anti-inflammatory) โดยจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งของ Pro-inflammatory เช่น IL-8 และ IL-6 มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) เนื่องจากมีองค์ประกอบของสารกลุ่มฟีนอลิก เช่น Glycosides, Kaempferol และ Quercetin มีฤทธิ์ในการยับยั้งจุดด่างดำ (Hyperpigmentation) และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ได้ดีกว่า Kojic acid
การประยุกต์ใช้สารสกัดจากกุหลาบมอญในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industries)
สารสกัดจากกุหลาบมอญมีฤทธิ์ในการทำหน้าที่คล้าย Nerve growth factor จึงช่วยในเรื่องของระบบประสาท เช่น Alzheimer และระบบความจำ เช่น สมองเสื่อม (Dementia) มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น การคลายตัวของกล้ามเนื้อบริเวณ ileum มีฤทธิ์ในการผ่อนคลายและบำบัดอาการเครียด (Relaxing effect and Anti-depression) มีฤทธิ์ในการลดการดูดซึมสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตในลำไส้เล็ก ส่งผลให้ช่วยลดระดับ Postprandial glucose ได้ และช่วยในการยับยั้ง α-glucosidase enzyme ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน
คุณสมบัติของสารสกัดกุหลาบมอญ
Anti-acne
ลดปัญหาสิว
Anti-inflammatory
บรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ
Whitening
แก้ปัญหาผิวคล้ำเสีย เปลี่ยนสีผิวให้ขาวกระจ่างใส
Anti-depression
บำบัดความเครียด ช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย
Anti-diabetes
ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารสกัดจากกุหลาบมอญ
ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบสารสกัดจากกุหลาบมอญ น้ำกุหลาบมอญ น้ำมันกุหลาบมอญและผลิตภัณฑ์จากกุหลาบมอญเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด หรือการพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการในการสกัด และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กับสารสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Nayebi, N., Khalili, N., Kamalinejad, M., & Emtiazy, M. (2017). A systematic review of the efficacy and safety of Rosa damascena Mill. with an overview on its phytopharmacological properties. Complementary therapies in medicine, 34, 129-140.
Labban, L., & Thallaj, N. (2020). The medicinal and pharmacological properties of Damascene Rose (Rosa damascena): A review. Int. J. Herb. Med, 8, 33-37.
Akram, M., Riaz, M., Munir, N., Akhter, N., Zafar, S., Jabeen, F., … & Said Khan, F. (2020). Chemical constituents, experimental and clinical pharmacology of Rosa damascena: a literature review. Journal of Pharmacy and Pharmacology, 72(2), 161-174.