เบนโทไนท์ (Bentonite)
ดินแห่งความงามที่ช่วยขจัดความมันส่วนเกินและดูดซับสารพิษบนใบหน้า
เบนโทไนท์ (Bentonite) จัดเป็นดินที่อยู่ในกลุ่มแร่ Montmorillonite และแร่ดินเหนียว Smectite ที่มาจากเถ้าถ่านภูเขาไฟภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แรงดันและความร้อนภายใต้เปลือกโลก ที่ประกอบด้วยชั้นของอะลูมิเนียมไฮดรอกซิลที่แทรกอยู่ระหว่างกลุ่มซิลิคอนออกไซด์ ซึ่งภายในโครงสร้างระหว่างโมเลกุลของเบนโทไนท์ที่เชื่อมกันด้วยไอออนที่เป็นประจุบวก ทำให้โมเลกุลน้ำสามารถเข้าไปแทรกได้ทำให้เกิดการพองตัว ในประเทศไทยแร่ดินเบนโทไนท์สามารถพบเจอได้ที่ อ.ชัยบาดาล จ. ลพบุรี โดยคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเบนโทไนท์ขึ้นอยู่องค์ประกอบทางเคมีและแหล่งค้นพบของเบนโทไนท์ ปัจจุบันมีการนำเบนโทไทไนท์มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เครื่องสำอาง อาหาร และยา ในด้านเครื่องสำอางพบว่า สามารถส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยในเรื่องของสิว และเนื่องจากเบนโทไนท์มีคุณสมบัติในการดูดซับที่ดี จึงนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์โคลนพอกหน้าเพื่อดูดซับความมันและสิ่งสกปรก ทางด้านการแพทย์พบว่า ช่วยในเรื่องของการหายของบาดแผล (Would healing) โรคลำไส้อักเสบ (Colitis) ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) โลหิตจาง (Anemia) หรือ ปัณหาโรคเกี่ยวกับลำไส้ (Intestinal problems)
การประยุกต์ใช้เบนโทไนท์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
เบนโทไนท์ ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางในรูปแบบของ Facemask เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีความสามารถในการดูดซับความมัน สิ่งสกปรก หรือสารพิษได้ดี สามารถช่วยในการลดการอักเสบจากสิว ควบคุมความมัน และส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนได้ ทำให้ผิวเรียบเนียนและแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบจากเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากมลภาวะ สิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในผลิตภัณฑ์กันแดดเบนโทไนท์เปรียบเสมือน Physical Barrier ในการต้านรังสี UV โดยสามารถใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทครีม ผง หรืออิมัลชันได้ และยังช่วยในการเพิ่มความหนืดของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
การประยุกต์ใช้เบนโทไนท์ในเชิงการพัฒนาระบบนำส่งยา (Drug delivery)
ในทางการแพทย์ได้มีการใช้เบนโทไนท์เพื่อดึงดูดสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และสารพิษในลำไส้ เช่น ใช้ในการดูดซับ Aflatoxin B1 หรือสารประเภทโลหะหนักต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผลทดสอบกับเซลล์ Caco-2 cell (Human colon-cancer cell line) และ Human hepatoma cell ว่าเบนโทไนท์ไม่มีผลอันตรายต่อเซลล์ อีกทั้งเบนโทไนท์ยังไม่มีผลทำให้เกิดสายโซ่ DNA ขาด (DNA strand-break) ทั้งนี้เบนโทไนท์สามารถพัฒนาโดยใช้เป็นตัว กักเก็บสารสำคัญ (Encapsulation) เช่น 6-mercaptopurine ที่ใช้เป็นยาต้านมะเร็ง (anti-cancer drug) หรือ tamoxifen (oral chemotherapy) เพื่อให้สารสำคัญไปถึงอวัยวะเป้าหมาย (Drug delivery) และป้องกันการเสื่อมสลายของสารสำคัญก่อนจะถึงอวัยวะเป้าหมาย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเบนโทไนท์
ผลิตภัณฑ์เบนโทไนท์ในอุตสาหกรรมความงามและสุขภาพมีหลายผลิตภัณฑ์ เช่น
-
ครีม (Cream)
-
โลชั่น (Lotion)
-
มาร์กสำหรับหน้าและร่างกาย (Face & Body Mask)
-
ผลิตภัณฑ์สำหรับดีท็อกซ์ (Detoxify Products)
-
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (Herbal Products) เช่น ยาสีฟัน แชมพูสระผม
คุณสมบัติของเบนโทไนท์
Detoxifying
ทำความสะอาดล้ำลึก ขจัดสิ่งตกค้างบนใบหน้า
Physical Sunscreen
ปกป้องผิวไม่ให้โดนทำร้ายจากแสงแดด
Anti-acne
ลดปัญหาสิว
Skin Barrier
เสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง จากแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเบนโทไนท์
เบนโทไนท์จากเถ้าภูเขาไฟสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อนำมาสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยการใช้ คุณสมบัติรูพรุน (High porosity) ในการดูดซับสิ่งสกปรกและความมันบนใบหน้า และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ที่ คลิ๊ก
Reference
Nones, Janaína, et al. “Effects of bentonite on different cell types: A brief review.” Applied Clay Science 105 (2015): 225-230.
Emami-Razavi, S. H., et al. “Effect of bentonite on skin wound healing: experimental study in the rat model.” Acta Medica Iranica (2006): 235-240.
Dardir, Fatma M., et al. “Cosmetic and pharmaceutical qualifications of Egyptian bentonite and its suitability as drug carrier for Praziquantel drug.” European Journal of Pharmaceutical Sciences 115 (2018): 320-329.