โปรตีนไฮโดรไลเซส (Protein Hydrolysate)
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกข้าวคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก โดยจะมีรำข้าวเป็นผลพลอยได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันรำข้าว ไขขาว และอาหารเสริม ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของรำข้าวพบว่า มีองค์ประกอบหลักคือ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 64.22 รองลงมาคือ โปรตีนร้อยละ 13.76 ไขมันร้อยละ 7.56 และเถ้าร้อยละ 4.24 ปัจจุบันมีการนำโปรตีนมาใช้เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ในรูปแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนเสริมอาหาร หรือในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จากการศึกษาการแปรรูปโปรตีนจากรำข้าวด้วยกรรมวิธีไฮโดรไลเสทพบว่ามีกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ หลายชนิด เช่น โปรตีนไฮโดรไลเสทจากข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวกล้องที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการไฮโดรไลเสท
องค์ประกอบของโปรตีนไฮโดรไลเซส
ในองค์ประกอบของโปรตีนไฮโดรไลเสทของรำข้าวจะประกอบด้วย Glutelin และ Prolamin เป็นส่วนใหญ่ และมี Albumin และ Globulin เป็นองค์ประกอบร่วม ซึ่งโปรตีนไฮโดรไลเสทมีประโยชน์อย่างมากในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม โปรตีนไฮโดรไลเสทสามารถเกิดการยึดเกาะได้ดีกับเคราตินบนเส้นผม ทำให้เกิดการเคลือบบนเส้นผม ช่วยฟื้นฟูเส้นผมที่เกิดความเสียหายจากการสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวี ความร้อน มลภาวะ หรือการยืดและการทำสีผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนไฮโดรไลเสทที่มีมวลโมเลกุลน้อย จะมีความสามารถซึมลึกสู่ชั้น Cortex ในโครงสร้างเส้นผมได้ นอกจากนี้การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าว โดยการย่อยโปรตีนจนได้พอลีเปปไทด์และกรดอะมิโนอิสระ จะได้สารสกัดที่มีปริมาณโปรตีนสารประกอบฟีนอลิก กรดอะมิโน เช่น กรดกลูตามิก อาร์จินีน ฮัสทิดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เฟนิลอะลานีน เทรโอนีน และวาลีน มีวิตามิน บี เช่น วิตามินบี 3 (ไนอาซีน) และ แร่ธาตุโปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม
การประยุกต์ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสทในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
โปรตีนเมื่อนำมาผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอมไซม์ให้มีขนาดเล็กลงหรือโปรตีนไฮโดรไลเสท ทำให้มีคุณสมบัติในการความชุ่มชื้น ปกป้องผิวจากการระคายเคือง ในเส้นผม โปรตีนไฮโดรไลเสทสามารถช่วยในการบำรุงเส้นผม ฟื้นฟูเส้นผมที่แห้งเสีย ปิดเกล็ด ทำให้เส้นผมนุ่มลื่น เงางาม เนื่องจากองค์ประกอบของกรดอะมิโน
การประยุกต์ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสทในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)
เนื่องจากโปรตีนไฮโดรไลเสทมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ จึงมีฤทธิ์ในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะเครียด เบาหวาน และภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการย่อยอาหาร การคบเคี้ยว ผู้ต้องการลดความอ้วน หรือผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์นมได้
คุณสมบัติของ Protein Hydrolysate
Moisturizing
เพิ่มความชุ่มชื้น ปรับผิวให้เรียบเนียนสม่ำเสมอ
Anti-cholesterol
ลดระดับคอเลสเตอรอล
Obesity
ช่วยควบคุมน้ำหนัก แก้ปัญหาโรคอ้วน
Diabetes
ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การประยุกต์ใช้โปรตีนไฮโดรไลเสทในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)
โปรตีนไฮโดรไฮโดรไลเสทสามารถพัฒนาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เช่น แหล่งของวัตถุดิบ กระบวนการสกัด หรือกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference
Julmanlik, Tipwalee, and Sasithorn Kongruang. “ม บั ติ เชิง หน้าที่ และ การ ประยุกต์ ใช้ โปรตีน ไข่ขาว ไฮ โดร ไล เสต.” Journal of Food Technology, Siam University 14.1 (2019): 69-87.
AOAC. 2000. Official Methods of the Association of Official Analytical Chemists. 17th ed. The Association of Official Analytical Chemists, Gaithersburg, MD.
Silpradit, K., Tadakittasarn, S. Rimkeeree, H. Winitchai, S. and Haruthaithanasan, V., 2010. Optimization of Rice Bran Protein Hydrolysate Production Using Alcalase. As. J. Food-Ind. 3(02): 221-231.
Vichai, V. and Kirtikara, K. 2006. Sulforhodamine B colorimetric assay for cytotoxicity screening. Nature Protocols. 1(3): 1112-1116