ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางทั่วโลกมีมูลค่ามหาศาลและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2020 อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 307,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยมูลค่าตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 463,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2027 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการเป็นศูนย์กลางการผลิตและที่สำคัญ ตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยมีมูลค่ากว่า 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
สถานการณ์การเติบโตนี้สะท้อนถึงความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ความท้าทายหลายประการที่อุตสาหกรรมนี้ต้องเผชิญ หนึ่งในความท้าทายหลักคือการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งประมาณ 90% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางในประเทศไทยถูกนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทั้งที่ประเทศไทยมีสมุนไพรท้องถิ่นจำนวนมากที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอางได้ถึง 200,000 ชนิด
ในบริบทของ ห่วงโซ่อุปทาน เครื่องสำอางในประเทศไทย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดของผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานเครื่องสำอางมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ดังนั้นการเข้าใจและจัดการกับความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานเครื่องสำอางในประเทศไทย
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เครื่องสำอางในประเทศไทยมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้คือรายละเอียดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในห่วงโซ่อุปทานเครื่องสำอางในประเทศไทย:
1.เกษตรกร
2.ผู้ผลิตวัตถุดิบ
3.เจ้าของแบรนด์วัตถุดิบ
4.ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ
5.ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
6.ผู้ผลิตเครื่องสำอาง
7.เจ้าของแบรนด์
8.FDA Thailand
9.ผู้จัดจำหน่าย
10.ผู้ค้าปลีก
11.ผู้บริโภค
12.ผู้ตรวจสอบคุณภาพอิสระ
1. เกษตรกร (Farmers)
2. ผู้ผลิตวัตถุดิบและสารสำคัญในเครื่องสำอาง (Ingredient & Active Ingredient Makers)
3. เจ้าของแบรนด์วัตถุดิบหรือนวัตกรรมสารสำคัญ (Ingredient Suppliers)
4. ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและสารสำคัญในเครื่องสำอาง (Ingredient Traders)
5. ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging Manufacturers)
6. ผู้ผลิตเครื่องสำอาง (Cosmetic Manufacturers)
7. เจ้าของแบรนด์ (Brand Owners)
8. องค์การอาหารและยาประเทศไทย (Thai FDA)
9. ผู้จัดจำหน่าย (Distributors)
10. ผู้ค้าปลีก (Retailers)
11. ผู้บริโภค (Consumers)
12. ผู้ตรวจสอบคุณภาพอิสระ (Independent Quality Assurance Verifiers - IQAVs)
การมี IQAVs จะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและผู้ผลิต เนื่องจากสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก IQAVs มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด หน่วยงานนี้ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถระบุปัญหาและปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแนะนำและจัดตั้ง IQAVs ในประเทศไทยจึงเป็นข้อเสนอแนะสำคัญในงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ เนื่องจากจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีความสำคัญอย่างยิ่ง การที่เรารู้จักและเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละฝ่ายจะช่วยให้เราสามารถดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ การทราบว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร จะช่วยให้เราสามารถประสานงานและสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพได้
การเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตเครื่องสำอาง เจ้าของแบรนด์ องค์การอาหารและยาประเทศไทย รวมถึงผู้บริโภค จะช่วยให้เราสามารถวางกลยุทธ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและสามารถตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น หากคุณกำลังสนใจอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากหน้าเว็บหรือบริการของเราได้ที่นี่ คลิก
อ้างอิงงานวิจัยจาก
Panitsettakorn, W., Ongkunaruk, P., & Leingpibul, T. (2024). The present state of the cosmetics supply chain in Thailand and the prospective role of Independent Quality Assurance Verifiers (IQAVs) within the supply chain. Heliyon, 9, e20892. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2023.e20892