เสร็จ แต่ไม่สำเร็จ ในวงการวิจัย (Active Ingredient)

เสร็จ แต่ไม่สำเร็จ ในวงการวิจัย (Active Ingredient)

เสร็จ แต่ไม่สำเร็จ ในวงการวิจัย (Active Ingredient)

งานวิจัยที่เสร็จไม่ได้แปลว่าจะสามารถนำไปใช้ได้กับภาคเอกชนเสมอไป

ถ้างานวิจัยที่สำเร็จ ถูกชี้วัดด้วยการถูกนำไปใช้ประโยชน์ 

วันนี้ผมจะมาเล่าผ่านประสบการณ์ และมุมมองของภาคเอกชนอุตสาหกรรม Health & Beauty 

ที่มีโอกาสได้ร่วมทุนในงานวิจัย ลงทุนในงานวิจัย สนับสนุนทุนวิจัย รวมกว่า 50 โครงการ 

มีอะไรที่จะกลายเป็นความท้าทายของภาครัฐ และเอกชน ที่ทำให้งานวิจัยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง 

กรณีตัวอย่างที่ 1 สารสำคัญจากพืชที่เอาไปใช้กับอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

     สารสำคัญจากส่วนของพืช เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก เปลือก หรือ เมล็ด  

เมื่อสกัดสารออกมา ทดสอบแล้วได้ผลลัพธ์ดี ทดสอบแล้วว่าไม่เป็นพิษในระดับเซลล์ 

แต่พืชเหล่านี้ ไม่มีประวัติการกินถึง 15 ปี รับการถ่ายทอดไป ก็ติดเรื่องการขึ้นทะเบียน 

ต้องไปตบตีกับอย.อีกพักใหญ่ และต้องมาทดสอบความเป็นพิษกับสัตว์ทดลองอีก 

กรณีที่ต้องร่วมทุน หรือเอาไปลงทุนวิจัยต่อ ประเด็นเหล่านี้เอกชนต้องทำความเข้าใจ

ไม่เหมาะสำหรับรายที่ต้องการนำไปใช้ค้าขายเลยทันที 

กรณีตัวอย่างที่ 2 Stability Test ของเธอกับฉันมันไม่เหมือนกัน 

     งานวิจัยที่วิจัยเสร็จ ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ และถูกกำหนดให้ส่งมอบงานให้ทันระยะเวลาทุน 

ถ้าเป็นสารสำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรืออาหารเสริม 

ต้องมีการทดสอบความคงตัวของสารสำคัญนั้นๆ ในเงื่อนไขการจัดเก็บที่แตกต่างกัน

หรือคำนึงถึงบริบทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น ทำสารนาโนออกมา 

เงื่อนไขการจัดเก็บของงานวิจัยที่ทำไว้คือเก็บที่ -4 องศา 

ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นก็ไม่เป็นนาโน แยกชั้น และเสียสภาพ 

แล้วเอกชนถ่ายทอดมาผลิตเพื่อจำหน่ายต่างประเทศ​ แบบนี้ตอนขนส่งทำอย่างไรต้องไปตามบริษัทขนส่งที่มีระบบควบคุมความเย็น (Cold Chain Logistics) มาส่งก็ต้นทุนสูง 

ไม่งั้นก็ต้องลงทุนทำวิจัยต่อด้วยเงินอีกก้อนครับ 

กรณีตัวอย่างที่ 3 สารสำคัญ (Ingredient) แปรสภาพหรือเสียสภาพได้ 

     งานวิจัยที่เสร็จ อาจจะจบแค่​ ณ Ingredient Stage คือทำได้ออกมาต้นเป็นสารสำคัญ​

รู้เปอร์เซ็นต์ของการใช้ รู้เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ แต่งานวิจัยนั้น

อาจไม่ครอบคลุมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เมื่อเราเอาลงสูตรตำรับ 

เพราะตอนลงสูตร สารเหล่านั้นมันอาจจะเปลี่ยนสภาพ เสียสภาพ สีเปลี่ยน  

หรือไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์เหมือนตอนวิจัยตอนแรก  เช่น สารตระกูลเอนไซม์ 

สารในกลุ่ม Biopigment ที่สีเปลี่ยนเมื่อเจอระดับความเป็นกรด – ด่าง ที่เปลี่ยนไป 

 (ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น จะยังออกฤทธิ์เหมือนเดิมหรือไม่ ต้องพิสูจน์โดยการวิจัยต่อ)

กรณีตัวอย่างที่ 4 ออกเอกสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมไม่ได้ !! 

     ซึ่งนักวิจัยหรือโจทย์ของทุนวิจัยไม่ได้มีการกำหนดไว้ ตามบริบทของอุตสาหกรรม

มาตรฐานของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในอุตสาหกรรมเอาไว้ มาดูตัวอย่างเอกสารที่ควรมี

MSDS: Material Safety Data Sheet เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของสาร 

TDS: Technical Data sheet เกี่ยวกับข้อมูลทางเทคนิคในการใช้สาร 

Specification Sheet ข้อมูลจำเพาะเพื่อระบุลักษณะทางกายภาพและเคมีของสาร 

COA: Certificate of Analysis ข้อมูลระบุลักษณะทางกายภาพและเคมีของสารตามล็อต 

จริงๆเอกสารเหล่านี้ผู้ผลิตสารสำคัญจะเป็นผู้ดำเนินการ 

แต่ถ้าดูความพร้อมของงานวิจัย ใช้เอกสารเหล่านี้เป็นเกณฑ์ความพร้อมได้ 

ถ้าไม่มีก็เป็นหน้าที่ของเอกชนที่สนใจ จะต้องผลักดันเพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ 

กรณีตัวอย่างที่ 5 สิทธิ์ของงานวิจัยที่ผูกติดกับเงื่อนไขของแหล่งทุน 

     นักวิจัยหรือหน่วยวิจัย ที่ต้องพึ่งพาแหล่งทุนวิจัย (ด้วยเงื่อนไขของการขอทุนวิจัย บางที่เป็น KPI)

หลายครั้งเอกชนเจองานวิจัยที่น่าสนใจ แต่การเจรจาเรื่องสิทธิ์อาจจะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงงานวิจัย 

เช่น คนทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย พอสนใจต้องไปคุยกับ TLO (Tech-Licensing Officer) 

พอคุย TLO เสร็จต้องไปเจรจากับแหล่งทุน หรือมีกระบวนการที่ต้องรอ 

รอ – อัพเดท – รอ – นัดประชุม – รอ – อัพเดท – นัดประชุม Move on เป็นวงกลม 

สุดท้ายเอกชนจะเดินหนีไป ไม่ใช่เพราะว่าไม่อยากได้งานวิจัย 

แต่เพราะสิ่งที่มีคุณค่าและสำคัญมากกว่าสำหรับเอกชนคือ เวลา

 

เห็นด้วย เห็นต่าง แย้งได้ครับ 

ใครที่เจอประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไปมาร่วมแสดงความเห็นกันได้ครับ 

หรือใครที่อยากปรึกษาเกี่ยวกับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ลอง Inbox มาคุยกันครับ 

 

สามารถอ่านทบความ เสร็จ แต่ไม่สำเร็จ ในวงการวิจัย (Active Ingredient) และอื่นๆได้ที่นี่

วุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร (วุฒิ)